วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

URL

URL (ยูอาร์แอล) ย่อมาจากคำว่า Uniform Resource Locator หมายถึง ตัวบ่งบอกข้อมูล หรือ ที่อยู่ (Address) ของไฟล์หรือเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต กล่าวได้ง่ายๆก็คือ ตัวอักษรที่เรากรอกลงไปบนช่องใส่ Address ของโปรแกรมเข้าเว็บเช่น internet explorer, chrome หรือ firefox ในยุคแรกๆ เราใช้ตัวเลขหลายหลัก (เลขไอพี )ในการแทนชื่อเว็บไซต์ ทำให้เวลาจำแล้วกรอกตัวเลขในช่อง URL มักจะผิดกันมาก เลยมีผู้คิดค้นสัญลักษ์แทนตัวเลข จึงเป็นที่มาของชื่อโดเมนเนม

อ้างอิง :  http://www.web-worldwide.com/index.php/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89/77-URL-%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87.html

web site

website คืออะไร

เว็บไซต์ (อังกฤษ: website, web site, Web site) หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการ เพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์

เว็บไซต์แห่งแรกของโลกสร้างขึ้นเมื่อ 30 เมษายน พ.ศ. 2536 โดยวิศวกรของเซิร์น[1]

 อ้างอิง : http://supattraaew.blogspot.com/2010/05/website.html

Browser

โปรแกรมเว็บบราวเซอร์
เว็บบราวเซอร์ (web browser) คือโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้
ที่ทำหน้าที่ติดต่อกับ เว็บเซอร์เวอร์ เพื่อขอดูเอกสารข้อมูลเวิลด์ไวด์เว็บ
เมื่อได้รับแฟ้มเอกสารที่ขอไป ก็นำมาแสดงบนจอภาพ เราเรียกรายละเอียดของเอกสารข้อมูล
ที่เว็บบราวเซอร์นำมาแสดงบนจอว่า เอกสารเว็บ (web document)
ในปัจจุบัน มีบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ต่าง ๆ หลายราย
ได้พัฒนาโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ ออกมาให้ใช้งานกันมากมาย และเพิ่มขึ้นทุกขณะ เช่น
NCSA Mosaic, Cello, Netscape Navigator, Internet Explorer, HotJava, และ Win Web
เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ใช้สามารถโอนถ่าย โปรแกรมเว็บบราวเซอร์
นำมาทดลองใช้ได้ฟรี ตามเงื่อนไขของแต่ละบริษัท แต่ก็มีอีกหลายแห่ง ที่แจกให้ใช้ฟรีจริงๆ
เว็บบราวเซอร์ที่กล่าวถึงข้างต้น ล้วนมีความสามารถเรียกดูข้อมูลที่เป็นรูปภาพ
และมีสีสันสวยงามได้ แต่สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลที่เป็นตัวหนังสืออย่างเดียว
ซึ่งจะเรียกดูข้อมูลได้ รวดเร็ว ก็อาจจะเลือกใช้โปรแกรม Lynx
ซึ่งเคยเป็นเว็บบราวเซอร์แบบตัวอักษร ที่มีผู้นิยมมาก ในระยะหนึ่ง
โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ของแต่ละบริษัท มีความแตกต่างกันในความสามารถ
และรายละเอียด ปลีกย่อย เช่น ความเร็วในการทำงาน การสิ้นเปลืองหน่วยความจำของเครื่อง
การรักษาความปลอดภัย ของข้อมูล การรองรับภาษา HTML ในระดับที่ไม่เท่ากัน เป็นต้น 


อ้างอิง : http://www.informatics.buu.ac.th/~wichai/101course/Internet/www.htm

world wide web (www) หรือ w3

.....เวิลด์ไวด์เว็บ บริการข้อมูลข่าวสารแบบสื่อผสม ที่เป็นจุดดึงดูดให้ผู้คนส่วนใหญ่ เข้ามา ใช้บริการอินเทอร์เน็ตกันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเวิลด์ไวด์เว็บ เป็นเครื่องมือช่วยให้เรา สามารถ ค้นรายละเอียดในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์แบบเกือบทุกเรื่อง สามารถเชื่อมโยงไปยังแหล่งต่าง ๆ ได้อย่างไร้ขีดจำกัด ใช้งานง่าย สะดวกและรวดเร็ว ทำให้ประหยัดเวลา สามารถเห็นได้ทั้งภาพ และเสียง ทั้งภาพแบบสองและสามมิติ รวมทั้งภาพเคลื่อนไหวอีกด้วย นอกจากนี้ เรายังสามารถ เผยแพร่เอกสารที่เราจัดทำ ไปให้ผู้คนทั่วโลกใช้ผ่านทาง เวิลด์ไวด์เว็บ โดยมีค่าใช้จ่าย ถูกกว่า การตีพิมพ์บนกระดาษ หรือบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เวิลด์ไวด์เว็บ จึงเป็นต้นเหตุสำคัญ ทำให้ สถิติการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้คนทั่วโลก เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วรวดเร็ว
เวิลด์ไวด์เว็บ คืออะไร
.....เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web หรือ WWW หรือ W3 หรือ Web) คือ บริการค้น
หรือเรียกดู ข้อมูลแบบหนึ่ง ในอินเทอร์เน็ต ข้อมูลในเวิลด์ไวด์เว็บ จะอยู่ในแบบสื่อผสม หรือ
มัลติมีเดีย (multimedia) ที่มีทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวแบบวิดีโอ
ข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นหน้า ๆ แต่ละหน้าสามารถ เชื่อมโยงถึงกันได้
เป็นแบบเครือข่ายคล้ายใยแมงมุม จากแหล่งต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ทั่วโลก

จุดเริ่มต้นของเวิลด์ไวด์เว็บ
.....ปี ค.ศ. 1990 ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี (Tim Berners-Lee) แห่งสถาบัน CERN (Center
European pour la Recherche Nucleaire) แห่งกรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
(เวบไซต์ของ CERN ติดต่อที่ http://www.cern.ch)
ได้คิดค้นวิธีการถ่ายทอดเอกสารข้อมูลที่อยู่ในแบบไฮเปอร์เท็กซ์ ( hypertext)
ซึ่งเป็นเอกสารที่นำเสนอทางเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ข้อมูลในแต่ละหน้า
สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ มานำเสนอผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เอกสารแบบไฮเปอร์เท็กซ์นี้ เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นใหม่ เรียกว่า
ภาษา HTML (Hypertext Markup Language)
เอกสารข้อมูลที่เขียนขึ้นด้วยภาษา HTML นี้ ต้องใช้โปรโตคอลแบบพิเศษ ชื่อ HTTP
(Hypertext Transport Protocol) ช่วยในการสื่อสาร และรับส่งข้อมูล
ขณะเรียกใช้บริการเวิลด์ไวด์เว็บ ในระบบอินเทอร์เน็ต
ในปี ค.ศ. 1993 สถาบัน NCSA (National Center for Supercomputing Application)
แห่งมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ได้พัฒนาโปรแกรมที่เรียกว่า เว็บบราวเซอร์ (web browser) ชื่อ
Mosaic ขึ้นมา ทำหน้าที่แปลคำสั่งและข้อมูลที่อยู่ในรูปของเอกสาร HTML
ให้แสดงที่หน้าจอเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ได้อย่างสวยงาม น่าดู
อย่างที่เราพบเห็นบนในปัจจุบัน โปรแกรม Mosaic ถูกแจกจ่าย
ออกไปให้ผู้ใช้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย จืงได้กลายมาเป็น โปรแกรมยอดนิยมไปทันที
หลังจากนั้นมา บริษัทซอฟแวร์ชั้นนำต่าง ๆ จึงเริ่มพัฒนาโปรแกรมเว็บบราวเซอร์อื่น ๆ
ออกจำหน่ายจ่ายแจก แก่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก ทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกหาโปรแกรม เว็บบราวเซอร์ มาใช้งานได้หลายโปรแกรม นอกจากจะใช้บริการดูข้อมูลจากเวิลด์ไวด์เว็บ แล้ว หลายโปรแกรมยังมีความสามารถอื่น ๆ ด้วย เช่น บริการสื่อสารด้วย E-mail การค้นข้อมูลแบบ Gopher การถ่ายโอนไฟล์ด้วย ftp
เป็นต้น โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ ได้เปลี่ยนโฉมหน้า การใช้ บริการอินเทอร์เน็ตในแบบเก่า ๆ
ที่มีแต่ตัวอักษร ไปเป็นหน้าจอที่มีชีวิตชีวาด้วยสีสันและรูปภาพ
และทำให้ผู้สามารถเข้าสู่บริการอินเทอร์เน็ตได้ง่ายกว่าเดิมมาก

เรื่องราวเกี่ยวกับเวิลด์ไวด์เว็บ .....เว็บเพจและโฮมเพจ เอกสารข้อมูลเวิลด์ไวด์เว็บ เรื่องหนึ่ง ๆ ใน เว็บไซต์ จะถูกแบ่งเป็นหน้า ๆ
คล้ายหนังสือ เล่มหนึ่ง แต่ละหน้า เรียกว่า เว็บเพจ (web page) ข้อมูลในเวบเพจ เป็นเอกสารแบบ ไฮเปอร์เท็กซ์ เขียนขึ้นด้วยภาษา HTML แบ่งเป็นสองส่วน คือ ส่วนที่เป็นตัวข้อมูล และส่วนที่เป็น ตัวเชื่อม (link)
ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมโยงไปยังข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง เราเรียกข้อมูลที่มีตัวเชื่อมนี้ว่าเป็น
ไฮเปอร์เท็กซ์ (hypertext) เว็บเพจหน้าแรกของเอกสารบนเวิลด์ไวด์เว็บ เรียกว่า โฮมเพจ (home page)
ซึ่งเปรียบ เสมือนหน้าแรก หรือหน้าปกของหนังสือ  เป็นส่วนที่ใช้บอกชื่อเรื่องของเอกสารข้อมูล ส่วนสำคัญ ในหน้าที่เป็นโฮมเพจ คือ หัวข้อเรื่องของเอกสารข้อมูล หรือสารบัญ ที่มีลักษณะเป็นแบบ ไฮเปอร์เท็กซ์
ที่จะเชื่อมโยงไปยัง รายละเอียดที่อยู่ในหน้าอื่น ๆ ต่อไป นอกจากนี้ ก็จะมี
ชื่อเจ้าของโฮมเพจ พร้อมทั้งที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ และอาจจะมีคำชี้แจงเบื้องต้นด้วย
3.2 เว็บเซิร์ฟเวอร์และ เว็บไซต์  เว็บเซิร์ฟเวอร์ (web server) หมายถึง
เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่ให้บริการเวิลด์ไวด์เว็บ
ซึ่งอาจจะใช้ระบบปฏิบัติการ Unix หรือ Windows NT ก็ได้ และมีโปรแกรมประเภท HTTPD
ทำหน้าที่คอยบริการจัดส่งเอกสารข้อมูล ให้กับผู้ที่ติดต่อขอผ่านมาทางเว็บบราวเซอร์
ในกรณีที่ส่งไปให้ไม่ได้ เช่นมีการขัดข้องทางเทคนิค  เว็บเซิร์ฟเวอร์จะส่งรายละเอียดการขัดข้อง (error message) ให้แทน โปรแกรม HTTPD ในปัจจุบันมีให้เลือกใช้มากมาย ทั้งที่เป็นฟรีแวร์, แชร์แวร์,
และ โปรแกรมเพื่อการค้า เช่น
- โปรแกรม Purveyor HTTP Server ของสถาบัน European Microsoft
Windows NT Academic Centre (EMWAC)
- โปรแกรม Website ของบริษัท O'Reilly and Associate
- โปรแกรม Apache
เว็บไซต์ (web site) หมายถึงตำแหน่งที่เก็บข้อมูลที่เป็น เว็บเพจต่าง ๆ
ที่เจ้าของระบบ ได้จัดเตรียมไว้บนเว็บเซิร์ฟเวอร์ แต่ละเว็บไซต์บนเว็บเซิร์ฟเวอร์
มีวิธีการระบุที่อยู่ (address) ของตัวเองไม่ให้ซ้ำกับผู้อื่น วิธีการระบุที่อยู่ของเว็บไซต์
นี้เรียกว่า รหัสสืบค้น (Uniform Resource Locator หรือ URL) ส่วนแรกของ URL
เป็นโปรโตคอล http ที่จะบอกลักษณะ ของข้อมูล ว่าเป็นแบบเวิลด์ไวด์เว็บ
คั่นด้วยเคื่องหมาย :// และส่วนที่สอง ใช้บอกตำแหน่งที่เก็บข้อมูลนั้น ๆ
ซึ่งประกอบด้วยชื่อของเว็บเซิร์ฟเวอร์ และชื่อไฟล์ที่เป็นเว็บเพจ โดยต้องระบุเส้นทางหรือ
ไดเร็กทอรีให้ถูกต้อง เช่น
http://www.sci.buu.ac.th/~wichai/valentine.html
แต่ถ้าไม่ระบุชื่อไฟล์ ก็จะเป็นการเข้าไปยังโฮมเพจของ เว็บไซต์นั้น เช่น
http://www.sci.buu.ac.th/~king72
ตัวอย่าง Web sites น่าสนใจ
http://kanchanapisek.or.th/
http://www.nectec.or.th/
http://www.disney.com/
http://www.microsoft.com/
http://lcweb.loc.gov/
http://www.whitehouse.gov/
http://www.100.hot.com/
http://www.angelfire.com/wi/catholicthai/
http://www.buu.ac.th
3.3 ไฮเปอร์เท็กซ์ ไฮเปอร์ลิงก์ และ ไฮเปอร์มีเดีย
ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) คือ คำหรือวลีเรืองแสง
หรือมีสีแตกต่างจากข้อความธรรมดา หรือ มีการขีดเส้นใต้ในเอกสารเว็บ
เมื่อเรียกดูผ่านทางเว็บบราวเซอร์ ถ้าใช้เมาส์ชี้ที่ ไฮเปอร์เท็กซ์จะเห็นเป็นรูปมือ
และเมื่อคลิกเมาส์ที่ไฮเปอร์เท็กซ์ โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ จะเชื่อมโยงไปยังเอกสารอื่น
ซึ่งอาจจะเป็นจุดอื่นในไฟล์เดียวกัน หรืออาจจะเชื่อมโยงไปยัง ไฟล์เอกสารอื่น หรือ
เว็บไซต์อื่น การเชื่อมโยงดังกล่าว เรียกว่า ไฮเปอร์ลิงก์ (hyperlink)
ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของเอกสารเว็บ เมื่อเรียกดูผ่านทางเว็บบราวเซอร์
ไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia) หมายถึง ส่วนที่เพิ่มเติมจากไฮเปอร์เท็กซ์ นั่นคือ
นอกเหนือ จากการเชื่อมโยงข้อมูลในแบบตัวอักษรแล้ว เรายังสามารถเชื่อมโยงไปยัง
ข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ภาพถ่าย วิดีโอ เสียง ภาพสามมิติ ภาพเคลื่อนไหว ได้ด้วย
3.4 เวิลด์ไวด์เว็บอยู่ที่ไหน ใครเป็นเจ้าของ
เวิลด์ไวด์เว็บ เป็นบริการสืบค้นข่าวสารข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
ไม่มีใครเป็นเจ้าของโดยเด็ดขาด แต่มีองค์กรที่ชื่อว่า W3 Consortium ตั้งอยู่ที่
Massachusett Institute of Technology (MIT) ประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกับ CERN
เป็นผู้บริหาร จัดการ และกำหนดรายละเอียด ทางด้านภาษา
และมาตรฐานหรือโปรโตคอลที่ใช้บนเวิลด์ไวด์เว็บ โดยมี ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี ผู้ก่อตั้งคนหนึ่ง
เป็นผู้ร่วมบริหารอยู่ด้วย
ติดต่อโฮมเพจของ W3 Consortium ได้ที่ http://www.w3.org 


อ้างอิง  : http://www.informatics.buu.ac.th/~wichai/101course/Internet/www.htm

IP Address

IP Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด IP Addressที่ใช้กันอยู่นี้เป็น ตัวเลขไบนารีขนาด 32 บิตหรือ 4 ไบต์
11101001/ 11000110/ 00000010/ 01110100   แต่เมื่อต้องการเรียกIP Address จะเรียกแบบไบนารีคงไม่สะดวก จึงแปลงเลขBinary หรือเลขฐานสองแต่ละไบต์ ( 8 บิต ) ให้เป็นตัวเลขฐานสิบโดยมีจุดคั่น   11101001 11000110 00000010 01110100
158    . 108    . 2    . 71

เมื่อตัวเลขIP Addressจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับกำหนดให้กับเครื่อง และอินเทอร์เน็ตเติบโตรวดเร็วมาก เป็นผลทำให้IP Addressเริ่มหายากขึ้น
การสื่อสารและรับส่งข้อมูลในระบบ Internet สิ่งสำคัญคือที่อยู่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ จึ่ง ได้มีการกำหนดหมายเลขประจำเครื่องที่เราเรียกว่า IP Address และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและซ้ำกัน จึงได้มีการก่อตั้งองค์กรเพื่อ แจกจ่าย IP Address โดยเฉพาะ ชื่อองค์กรว่า InterNIC (International Network Information Center) อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา การแจกจ่ายนั้นทาง InterNIC จะแจกจ่ายเฉพาะ Network Address ให้แต่ละเครือข่าย ส่วนลูกข่ายของเครือง ทางเครือข่ายนั้นก็จะเป็น ผู้แจกจ่ายอีกทอดหนึ่ง ดังนั้นพอสรุปได้ว่า IP Address จะประกอบด้วยตัวเลข 2 ส่วน คือ
1. Network Address
2. Computer Address

การแบ่งขนาดของเครือข่าย
เราสามารถแบ่งขนาดของการแจกจ่าย Network Address ได้ 3 ขนาดคือ
Class A nnn.ccc.ccc.ccc (nnn ชุดแรก ตัวเลขอยู่ระหว่าง 1-126)
เครือข่าย Class A สามารถแจกจ่าย IP Address ได้มากที่สุดถึง 16 ล้านหมายเลข
Class B nnn.nnn.ccc.ccc (nnn ชุดแรก ตัวเลขอยู่ระหว่าง 128-191)
เครือข่าย Class A สามารถแจกจ่าย IP Address ได้มากเป็นอันดับสอง คือ 65,000 หมายเลข
Class c nnn.nnn.nnn.ccc (nnn ชุดแรก ตัวเลขอยู่ระหว่าง 192-233)   เครือข่าย Class A สามารถแจกจ่าย IP Address ได้น้อยที่สุด คือ 256 หมายเลข nnn หมายถึง Network Address ccc หมายถึง Computer Address IP Addressแต่ละกลุ่มที่ได้รับการจัดสรร จะได้รับการควบคุมการกำหนดเส้นทางโดยอุปกรณ์จำพวก เราเตอร์ และสวิตชิ่ง ทำนอง เดียวกัน หน่วยงานย่อยรับIP Addressไปเป็นกลุ่มก็สามารถนำIP Address ที่ได้รับไปจัดสรรแบ่งกลุ่มด้วยอุปกรณ์เราเตอร์หรือ สวิตชิ่งได้ การกำหนดIP Addressจะต้องอยู่ภายในกลุ่มของตนเท่านั้น มิฉะนั้น อุปกรณ์เราเตอร์จะไม่ สามารถทำงานรับส่งข้อมูลได้
 อ้างอิง  :  http://www.ihostingthailand.com/index.php/information/13-ip-address-

TCP / IP


โปรโตคอลTCP/IP ( RFC1180 )
โปรโตคอล TCP/IP เป็นชื่อเรียกของชุดโปรโตคอลที่สำคัญ มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายตามการขยายตัวของอินเทอร์เนท/อินทราเนท ความจริงแล้วโปรโตคอล TCP/IP เป็นกลุ่มของโปรโตคอล หลายตัวที่ประกอบกันเป็นชุดให้ใช้งานโดยมีคำเต็มว่าTransmission Control Protocol /Internet Protocol ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีโปรโตคอลประกอบกันทำงาน 2 ตัว คือ TCP และ IP

ตัวอย่างของกลุ่มโปรโตคอลในชุดของ TCP/IP ที่เราพบและใช้งานบ่อยๆ ( ส่วนใหญ่จะไม่ได้ใช้งานโดยตรง แต่จะใช้งานผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆหรือทำงานโดยอ้อม เช่น Internet Protocol,Address Resolution Protocol(ARP) ,Internet Control Message Protocol (ICMP) ,User Datagram Protocol (UDP) ,Transprot Control Protocol (TCP) และ Simple Mail Transfer Protocol (SMTP) โปรโตคอลที่มีบทบาทสำคัญในการทำงานในเครือข่ายอินเทอร์เนทคือ Internet Protocol (โปรโตคอล IP) เนื่องจากเมื่อโปรโตคอลอื่นๆต้องการส่งผ่านข้อมูลข้ามเครือข่ายในอินเทอร์เนทนั้น จะต้องอาศัยการผนึกข้อมูล ไปกับโปรโตคอล IP ที่มีกลไกการระบุเส้นทาง ผ่าน Gateway หรือ
การที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถสื่อสารกันได้จำต้องมีการระบุแอดเดรสที่ไม่ซ้ำกัน เพราะไม่เช่นนั้นข้อมูลที่ส่งอาจจะไม่ถึงปลายทางได้ ซึ่งแอดเดรสจะมีข้อกำหนดมาตรฐาน ซึ่งในการใช้งานโปรโตคอล TCP/IP ที่เชื่อมโยงเครือข่ายนี้ จะเรียกว่า IP Address ( Internet Protocol Address )
Router เพื่อนำข้อมูลไปยังเครือข่ายและเครื่องปลายทางที่ถูกต้อง เนื่องจากกลไกการระบุเส้นทางจะทำงานที่โปรโตคอล IP เท่านั้นและด้วยเหตุนี้เราจึงเรียก ว่าเป็นโปรโตคอลที่มีความสามารถในการระบุเส้นทางการส่งผ่านของข้อมูลได้(Routable) 
อ้างอิง :  http://wich246.tripod.com/protocol.htm

วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมา

.....อินเตอร์เน็ต มีพัฒนาการมาจาก อาร์พาเน็ต (Arpanet เรียกสั้น ๆ ว่า อาร์พา) ที่ตั้งขึ้นในปี 2512 เป็นเครือข่ายคอมพิวเคอร์ของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ที่ใช้ในงานวิจัยด้านทหาร (ARP : Advanced Research Project Agency)

.....มาถึงปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พาประสบความสำเร็จอย่างสูง และได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจากอาร์พามาเป็นดาร์พา (Defense Advanced Research Project Agency: DARPA) และในที่สุดปี 2518 อาร์พาเน็ตก็ขึ้นตรงกับหน่วยการสื่อสารของกองทัพ (Defense Communication Agency)

.....ในปี 2526 อาร์พาเน็ตก็ได้แบ่งเป็น 2 เครือข่ายด้านงานวิจัย ใช้ชื่ออาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า มิลเน็ต (MILNET : Millitary Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้ โพรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เป็นครั้งแรก

.....ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติของอเมริกา (NSF) ได้ ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NSFNETและพอมาถึงปี 2533 อาร์พารองรับภาระที่เป็นกระดูกสันหลัง (Backbone) ของระบบไม่ได้ จึงได้ยุติอาร์พาเน็ต และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายขนาดมหึมา จนถึงทุกวันนี้ และเรียกเครือข่ายนี้ว่า อินเตอร์เน็ต โดยเครือข่ายส่วนใหญ่จะอยู่ในอเมริกา และปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อยมากถึง 50,000 เครือข่ายทีเดียว และคาดว่า ภายในปี 2543 จะมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั้งโลกประมาณ 100 ล้านคน หรือใกล้เคียงกับประชากรในโลกทั้งหมด

.....สำหรับประเทศไทยนั้น อินเตอร์เน็ตเริ่มมีบทบาทอย่างมากในช่วงปี 2530-2535 โดยเริ่มจากการเป็นเครือข่ายในระบบคอมพิวเตอร์ระดับมหาวิทยาลัย (Campus Network) แล้วจึงเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์เมื่อเดือนสิงหาคม 2535และ ในปี 2538 ก็มี การเปิดให้ บริการอินเตอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ (รายแรก คือ อินเตอร์เน็ตเคเอสซี) ซึ่งขณะนั้น เวิร์ลด์ไวด์เว็บกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในอเมริกา

.....อย่างไรก็ตาม อินเตอร์เน็ต บางครั้งก็มีการเรียกย่อเป็น เน็ต (Net) หรือ The Net ด้วยเช่นเดียวกัน อีกคำหนึ่งที่หมายถึงอินเตอร์เน็ตก็คือ เว็บ (Web) และ เวิร์ลด์ไวด์เว็บ (World – Wide-Web) (จริง ๆ แล้ว เว็บเป็นเพียงบริการหนึ่งของอินเตอร์เน็ตเท่านั้น แต่บริการนี้ ถือว่าเป็นบริการที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด